สวัสดีครับ หายไปซะหลายสัปดาห์เนื่องจากงานยุ่งและมัวแต่ไปทำคลิปรีวิวลง Youtube ซึ่งเป็นแชนแนลที่ผมตั้งใจทำขึ้นมาเพื่อคนรักพลาสติกโมเดลและกันพลาโดยเฉพาะครับ สามารถเข้าไป Subscribe เพื่อติดตามการรีวิวและเทคนิคดีๆจากประสบการณ์ของผมกันได้นะครับ
โดยไปที่ลิงค์
กันพลา & พลาสติกโมเดล แล้วกดที่ปุ่ม
- Subscribe - สีแดงๆใต้คลิปได้เลย เพียงเท่านี้เพื่อนๆก็จะได้ติดตามการรีวิวพร้อมทั้งชมคลิปข่าวสารและเทคนิคเกี่ยวกับพลาสติกโมเดลดีๆจากผมได้แล้วครับล่ะครับ
เอาล่ะ...สำหรับบทความในครั้งนี้ก็จะเป็นการนำเอาพลาสติกโมเดล
1/1 Danball Senki 051 LBX Magna Orthus ของทาง
Bandai มารีวิวในแบบสั้นกระชับกันครับ ซึ่งเจ้าพลาสติกโมเดลตัวนี้ผมเองก็ได้ทำคลิปรีวิวไปแล้วเช่นกัน สามารถชมได้ที่ Youtube ด้านล่างได้ทันทีครับผม แต่สำหรับรายละเอียดในบทความนี้ผมก็จะมาแจกแจงเพิ่มเติมจากในคลิ ปเล็กน้อยสำหรับคนที่เน็ทช้า อ่านบนมือถือหรือว่าขี้เกียจดูคลิปกันครับ ฮาๆ... (แต่อยากให้ดูคลิปกันนะ ผมตั้งใจทำจริงๆ ^_^)
มาเข้าเรื่อง เจ้า LBX ตัวนี้ผมซื้อมาในราคา
420 บาทถ้วนจากร้านค้าในเว็บแห่งหนึ่ง (จริงๆทุกเว็บที่ขายในไทยก็ราคาเดียวกันนี่แหละครับ อาจจะถูกหรือแพงกว่าเล็กน้อย แต่มารตรฐานคือ 420 บาท) จุดประสงค์ที่ผมซื้อ LBX มาต่อก็เพื่อใช้ในการประกอบคลิปสำหรับสอนการต่อพลาสติกโมเดลขั้นพื้นฐาน โดยเริ่มจากพลาสติกโมเดลที่มีชิ้นส่วนน้อยๆก่อน ซึ่งเจ้า LBX ก็สามารถตอบโจทย์ในข้อนี้ได้เป็นอย่างดีเลย ก่อนอื่นผมต้องบอกก่อนนะครับว่า พลาสติกโมเดล LBX ขนาด 1/1 ที่ทาง Bandai ผลิตออกมาขายนั้นปัจจุบันมีอยู่ 2 เกรดด้วยกันครับ (เท่าที่ผมพอรู้นะจ๊ะ...)
1. LBX แบบธรรมดา ชิ้นส่วนน้อยๆประกอบง่ายๆ ราคาขายเริ่มต้นก็อยู่ที่ประมาณ 1,000 - 4,000 เยนครับ (แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 1,300 - 1,700 เยน) พวกนี้ถ้าเปรียบกับกันพลาก็เหมือนกับกันพลาแบบ
High Grade ครับ พอจะนึกภาพออกกันแล้วใช่มั้ยครับ ยกตัวอย่างให้ดูตัวนึง เช่นเจ้า
LBX Achilles II ตัวนี้ซึ่งมีกำหนดวางขายในเดือนกรกฏาคม 2014 ก็จะขายในราคา 1500 - 1700 เยน (แล้วแต่ร้าน) LBX ธรรมดานั้นจะเน้นให้ตัวของเล่นออกมาเหมือนในการ์ตูนเรื่อง "ดันบอลเซนกิ" เลยครับ รายละเอียดก็ถือว่ามีครบเท่าที่เราสามารถจะเห็นได้จากจอทีวี มีอาวุธและอุปกรณ์เสริมแถมมาให้ (แต่ละตัวไม่เหมือนกัน) การประกอบก็ง่ายๆครับ เน้นให้เด็กต่อกันเลยทีเดียว ส่วนใหญ่ที่ Bandai วางขายจะเป็นแบบนี้หมดครับ
|
LBX Achilles II (Plastic model) |
2. LBX แบบ "ไฮเปอร์ฟังชั่น" หรือเรียกง่ายๆว่า LBX แบบที่มี "โครงใน" ราคาขายเริ่มต้นจะอยู่ที่ประมาณ 2,700 เยนขึ้นไปครับ ส่วนจะแพงมากกว่านี้อีกเท่าไรก็จะอยู่ที่ว่ามันมีออพชั่นเสริมอะไรเพิ่มเติมเข้าไปบ้าง ยิ่งมีของแถมมาก ราคาก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย ถ้าให้เปรียบก็เป็นเหมือนกันพลาในแบบ
Master Grade ดีๆนี่เองครับ การมีโครงด้านในจะทำให้ตัว LBX สามารถขยับข้อต่อต่างๆและจัดท่าจัดทางได้หลากหลายมากขึ้น รวมทั้งจะมีการเพิ่มรายละเอียดเล็กๆน้อยๆลงไปบนตัวพลาสติกด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามด้านสัดส่วนยังคงเป็น 1/1 เท่ากับ LBX แบบปกติครับ ยกตัวอย่างเช่น Hyper Function - LBX Lucifer ซึ่งราคามันจะอยู่ที่ประมาณ 2,500 เยน แต่ว่าถ้าเป็น LBX Lucifer ในแบบธรรมดา ราคาก็จะถูกลงเหลือเพียงแค่ 1,000 เยนเท่านั้นเองครับ
|
Hyper Function - LBX Lucifer |
|
โครงในของ Hyper Function - LBX Lucifer |
|
LBX Lucifer แบบธรรมดาไม่มีใครงใน ดูเผินๆแทบแยกกันไม่ออก |
สำหรับ LBX ที่ผมซื้อมารีวิวในครั้งนี้นั้นเป็นแบบธรรมดาครับ ก็เดี๋ยวเราไปดูภาพกันเลยก็แล้วกันว่ามันมีอะไรบ้างด้านใน อ้อสำหรับอุปกรณ์ในการ "ต่อดิบ" LBX ก็ไม่มีอะไรมากครับ 1.คีมตัด 2.อาร์ทไนฟ์ แค่นี้ก็เอาอยู่แล้วครับ เริ่มต้นกันที่รูปกล่อง ขนาดกล่องพอๆกับกล่องกันพลา HG ขนาดเล็กๆแบนๆทั่วไปเด๊ะเลย
|
รูปกล่องหน้าตรงดีไซน์สวยดีครับ ล่อตาล่อใจวัยประถมนักแล อิอิ |
|
แผงด้านในมีไม่เยอะดังภาพที่เห็น แบ่งสีของรันเนอร์ได้ค่อนข้างเยอะและชัดเจน |
|
แผงมันน้อยจริงๆนะครับ เหมาะสำหรับมือใหม่หัดต่อพลาสติกโมเดลมากๆ |
|
|
เปิดคู่มือ สิ่งแรกที่ต้องดูทุกครั้งคือจำนวนแผงรันเนอร์ที่อยู่ในกล่องมีจำนวนเท่ากับในคู่มือรึเปล่า? |
|
รายละเอียดของชิ้นส่วน คมกริบสมกับเป็นของแท้ Bandai |
|
แผงรันเนอร์มีการแบ่งส่วนการต่อชัดเจน ไม่งง แยกเป็นแผง หัว ตัว ขา แบบนั้นเลย |
|
รายละเอียดเนี้ยบขั้นเทพที่ "โมจีน" ยังทำไม่ได้ |
|
แกะลายมาสวย ข้อต่อเข้ากันพอดีแบบสแนปฟิต |
|
แผง PC มีให้มาไม่มากไม่น้อย |
|
สติ๊กเกอร์เก็บไว้ดูเล่น ผมไม่ชอบแปะสติ๊กเกอร์แบบนี้บนพลาสติกโมเดลเท่าไร |
|
ชิ้นส่วนใส + ใสย้อมสี ก็มีมาให้ครบ |
|
รูปตัวอย่างการต่อจากคู่มือ ดูง่าย เด็ก ป.3 ขึ้นไปต่อได้แน่นอน |
สำหรับการต่อดิบนั้นผมใช้วิธีตัดชิ้นส่วนออกมาจากแผงรันเนอร์ทั้งหมดแล้วค่อยต่อทีเดียวยาวเลย ไม่ได้มานั่งตัดแล้วค่อยต่อตามขั้นตอนในคู่มือทีละช่อง สาเหตุที่ผมใช้วิธีนี้ก็เพราะว่ามันเร็วและสะดวกดีครับ เหมาะสำหรับการต่อพลาสติกโมเดลที่มีชิ้นส่วนไม่มากนัก (เช่น มีแผงรันเนอร์แค่ 3-5 แผง) สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งหัดต่อครั้งแรก อาจจะต้องลองใช้วิธีการต่อตามคู่มือไปทีละช่องก่อนครับ เมื่อเข้าใจหรือเริ่มสนุกกับการต่อพลาสติกโมเดลแล้ว การตัดชิ้นส่วนออกมากองๆรวมกันแล้วนั่งต่อสดๆ ก้เป็นอะไรที่ลุ้นดีเหมือนกันนะ อิอิ
ต่อไปก็จะเป็นรูปของชิ้นส่วนต่างๆที่ผมตัดออกมากองรวมๆกันไว้ โดยผมจะแบบออกเป็น กองของส่วนหัว ลำตัว แขนมือ ขา อาวุธ และอื่นๆครับตามรูป จากนั้นก็เริ่มประกอบชิ้นส่วนเข้าด้วยกันในแบบสแนปฟิตได้เลย ไม่นานนักก็เสร็จเรียบร้อยครับ
|
ตัดชิ้นส่วนแล้วแยกเป็นกองๆเอาไว้ |
|
ต่อหัวก่อนใครเพื่อน |
|
ชิ้นส่วนช่วงลำตัว |
|
ชิ้นส่วนช่วงหัวไหล่-แขน-มือ |
|
ชิ้นส่วนขา |
|
ดาบและโล่ห์ |
เมื่อประกอบชิ้นส่วนในแต่ละกองจนเสร็จเรียบร้อยก็เอามาประกอบร่างให้กลายเป็น LBX ของเราได้เลยครับ แถ่น แท้น... เสร็จเรียบร้อย ฮ่าๆ สบายใจ หมดของดองไปอีกหนึ่ง (โล่งอกมาก) สำหรับคนที่อยากลองต่อพลาสติกโมเดลที่ไม่มีความซับซ้อน ยุ่งยากในการต่อ แต่ได้คุณภาพสมราคา
ผมก็ขอแนะนำให้ไปลองหาซื้อหุ่น LBX จากการ์ตูนอนิเมชั่นเรื่องดันบอลเซนกิมาลองต่อเล่นๆดูได้เลยครับ เผลอๆคุณอาจจะติดใจก็ได้ ใครจะรู้...
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment